อุทยานวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเกษตรและอาหาร | Maejo Agro Food Park (MAP)
ชั้น 4 อาคารอำนวยยศสุข มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เลขที่ 63 หมู่ที่ 4 ต.หนองหาร อ.สันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290 ติดต่อเบอร์โทรศัพท์ 0 5387 5635, โทรสาร 0 5387 5637, มือถือ 081 883 2696
“หน้ากากนาโน” เคลือบเทฟลอนกันน้ำ
“หน้ากากนาโน” เคลือบเทฟลอนกันน้ำรองศาสตราจารย์ ดร.อรุณี คงดี อัลเดรด  สังกัดคณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาเคมีอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีสิ่งทอ ได้คิดค้นหน้ากากอนามัยนาโนเคลือบเทฟลอน หรือการแวกซ์ลงบนผ้าจากเส้นใยธรรมชาติ มีคุณสมบัติ กันน้ำ ป้องกันฝุ่น PM2.5 ได้ โดยเฉพาะป้องกันน้ำลายจากการไอ จาม ของเชื้อโรคโควิด-19 ที่กำลังแพร่ระบาดอยู่ในขณะนี้ อีกทั้งยังสามารถนำกลับมาใช้ได้ ซักล้างได้ถึง 10 ครั้ง การตัดเย็บใช้ต้นทุนต่ำ ตกชิ้นละ 20-25 บาท ซึ่งขณะนี้ทางนักวิจัยกำลังพัฒนาเข้าสู่กระบวนการอุตสาหกรรม เพื่อให้มีการแพร่หลายมากขึ้นและต้นทุนที่ถูกลงหากท่านใดสนใจรับอนุญาตใช้สิทธิผลงานวิจัย ติดต่อสามถามได้ที่ : ฝ่ายจัดการทรัพย์สินทางปัญญาและถ่ายทอดเทคโนโลยี อุทยานวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเกษตรและอาหาร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โทร 053-875635  มือถือ 081-8832696
31 มีนาคม 2563     |      844
กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ SPA P2P 2020
วันที่ 14 – 16 กุมภาพันธ์ 2563 อุทยานวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเกษตรและอาหาร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ นำโดย นางสาวนิตยา ถาวัน ตำแหน่งนักวิชาการศึกษา และคณะ เข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ SPA P2P 2020 ครั้งที่ 1 ณ โรงแรมน่านตรึงใจ จังหวัดน่าน ที่จัดโดย สถาบันนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยพะเยา โดยการสนับสนุนงบประมาณ จากสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมกิจการอุทยานวิทยาศาสตร์ (สอว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม           วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2563 ได้มีการบรรยายโดยผู้มีประสบการณ์ทางด้านงานวิจัยและคนที่มีประสบการณ์ด้านการเขียนข้อเสนองานวิจัยและมีการนำเสนอบทความจากตัวแทนอุทยานฯ เครือข่ายภูมิภาค โดยอุทยานวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเกษตรและอาหาร ได้บรรยายในหัวข้อเรื่อง การยกระดับความพร้อมของเทคโนโลยีในโครงการพัฒนาขีดความสามารถทางเทคโนโลยีและวิจัยของภาคเอกชนในพื้นที่ กรณีศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยนางสาวศุภธาดา ฉัตรแก้วสืบ ตำแหน่งพนักงานจัดการทรัพย์สินทางปัญญา          วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2563 ได้เดินทางไปศึกษาดูงานทั้งหมด 3 แห่ง ได้แก่ 1. วิสาหกิจชุมชนชีววิถี 2. วิสาหกิจชุมชนขวัญธารา 3. บ้านถั่วลิสง ที่ได้รับการดูแลและสนับสนุนจากอุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
31 มีนาคม 2563     |      515
การอบรมประชุมหารือวางแผนการตลาด โครงการนวัตกรรมการเพิ่มประสิทธิภาพอาหารเสริมจากสมุนไพรโดยเทคโนโลยีพลาสมา
อุทยานวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเกษตรและอาหาร ได้จัดอบรมประชุมหารือวางแผนการตลาดโครงการนวัตกรรมการเพิ่มประสิทธิภาพอาหารเสริมจากสมุนไพรโดยเทคโนโลยีพลาสมา ภายใต้โครงการพัฒนาธุรกิจนวัตกรรมเกิดใหม่ที่มีการเติบโตสูง (Innovative Startup) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 โดยมีทีมผู้เชี่ยวชาญจากบริษัท เค.เอ็ม. คอนซัลติ้ง คอเปอร์เรชั่น จำกัด (สำนักงานใหญ่) นำทีมโดย นายนิติพงศ์ คฤหโกศล และคณะ ซึ่งกิจกรรมนี้ได้จัดขึ้นเมื่อวันที่ 20-24 มกราคม 2563 ที่ผ่านมา โดยจะเป็นการศึกษาความเป็นไปได้ทางการตลาดแบบเจาะลึกของโครงการนวัตกรรมการเพิ่มประสิทธิภาพอาหารเสริมจากสมุนไพรโดยเทคโนโลยีพลาสมา ซึ่งทางผู้เชี่ยวชาญได้สัมภาษณ์ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องจำนวน 3 ราย ได้แก่ อาจารย์ ดร.กีรติญา จันทร์ผง อาจารย์ ดร.สุรีย์พร สรารมย์ สังกัด คณะวิทยาศาสตร์ และนางสาวปณิชา ภูหัสพงศ์  ตำแหน่ง กรรมการผู้จัดการ บริษัท รีอิน (ประเทศไทย) จำกัด เพื่อให้ได้แผนการตลาดที่สามารถใช้ได้จริงและมีประสิทธิภาพมากที่สุด 
28 มกราคม 2563     |      855
กำหนดการอบรม Train the Trainer การตลาดผู้ประกอบการ : Entrepreneurial Marketing
เมื่อวันที่ 11-12 ธันวาคม 2562 ที่ผ่านมา อุทยานวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเกษตรและอาหาร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (MAP) ได้จัดกิจกรรมการอบรม Train the Trainer การตลาดผู้ประกอบการ : Entrepreneurial Marketing โดยมีผู้เชี่ยวชาญจาก บริษัท เค.เอ็ม. คอนซัลติ้ง คอเปอร์เรชั่น จำกัด (สำนักงานใหญ่) นำทีมโดย นายนิติพงศ์ คฤหโกศล และคณะ โดยวัตถุประสงค์ของการอบรม เพื่อให้อาจารย์ นักวิจัย นักประดิษฐ์ เจ้าหน้าที่โครงการวิจัย สามารถวิเคราะห์ปัจจัยในการวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาดของธุรกิจ และสามารถเชื่อมโยงงานนวัตกรรมสู่ธุรกิจเชิงพาณิชย์ได้ รวมไปจนถึงสามารถผลักดันผลงานวิจัยที่ได้รับการจดทะเบียนสิทธิบัตรหรืออนุสิทธิบัตรแล้วออกไปสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งในกิจกรรมครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมทั้งหมดจำนวน 25 ราย
20 มกราคม 2563     |      962
สวทช. ลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้าโครงการการพัฒนาระบบการผลิตปูนาปลอดสารพิษและปรสิตเพื่อตอบสนองอุตสาหกรรมอาหารปลอดภัย ณ บริษัท เอ็ม.ที.เกษตรแปรรูป จำกัด
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) นำโดย นางสาวเสาวภา จันทร์เทศ ตำแหน่ง นักวิเคราะห์โครงการวิจัยและพัฒนา ฝ่ายงานส่งเสริมนวัตกรรมสู่เชิงพาณิชย์ และคณะ ได้ลงพื้นที่ในการติดตามความก้าวหน้าโครงการสนับสนุนเพื่อเร่งการเติบโตของธุรกิจนวัตกรรมรายใหม่สำหรับอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ (Research Gap Fundภายใต้โครงการพัฒนาธุรกิจนวัตกรรมเกิดใหม่ที่มีการเติบโตสูง (Innovative Startup) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562ในโครงการการพัฒนาระบบการผลิตปูนาปลอดสารพิษและปรสิตเพื่อตอบสนองอุตสาหกรรมอาหารปลอดภัย โดยมี อาจารย์กานต์ ทิพยาไกรศรี สังกัด คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นหัวหน้าโครงการ ร่วมกับ บริษัท เอ็ม.ที.เกษตรแปรรูป จำกัด เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2562 ณ บริษัท เอ็ม.ที.เกษตรแปรรูป จำกัด อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี ซึ่งทาง สวทช. ได้เยี่ยมโรงเรือนเลี้ยงปูนาในระบบปิด ซึ่งทางบริษัทได้นำองค์ความรู้ทางนักวิจัยไปพัฒนาต่อยอดในการสร้างโรงเรือนระบบปิดไว้ที่บริษัท เนื่องจากบริษัทมีแผนที่จะเลี้ยงปูนาเพื่อการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆในอนาคต นอกจากนี้ สวทช. ยังได้ให้คำแนะนำในการดำเนินโครงการฯ พร้อมทั้งข้อเสนอแนะแนวทางต่างๆ เพื่อให้ดำเนินงานบรรลุตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการฯ โดยมีกำหนดปิดโครงการภายในวันที่ 31 มีนาคม 2563
19 ธันวาคม 2562     |      860
สวทช. ลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้าโครงการระบบการผลิตลูกพันธุ์ปลานิลอินทรีย์ในการเลี้ยงภายใต้ระบบไบโอฟลอคเชิงพาณิชย์ ณ บริษัท คิงฟิช กรุ๊ป จำกัด
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) นำโดย นายอภิรักษ์ วิเศษศรีพงษ์ ตำแหน่ง ผู้จัดการฝ่ายบริการพัฒนาธุรกิจเทคโนโลยี และคณะ ได้ลงพื้นที่ในการติดตามความก้าวหน้าโครงการสนับสนุนเพื่อเร่งการเติบโตของธุรกิจนวัตกรรมรายใหม่สำหรับอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ (Research Gap Fund ภายใต้โครงการพัฒนาธุรกิจนวัตกรรมเกิดใหม่ที่มีการเติบโตสูง (Innovative Startup) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ในโครงการระบบการผลิตลูกพันธุ์ปลานิลอินทรีย์ ในการเลี้ยงภายใต้ระบบไบโอฟลอคเชิงพาณิชย์ โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิสรา กิจเจริญ สังกัด คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นหัวหน้าโครงการ ร่วมกับ บริษัท คิงฟิช กรุ๊ป จำกัด เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2562 ณ บริษัท คิงฟิช กรุ๊ป จำกัด อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งทาง สวทช. ได้ให้คำแนะนำในการดำเนินโครงการฯ พร้อมทั้งข้อเสนอแนะแนวทางต่างๆ เพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการฯ โดยมีกำหนดปิดโครงการภายในวันที่ 31 มีนาคม 2563
27 พฤศจิกายน 2562     |      1366
Success case
Success caseรองศาสตราจารย์ ดร.อรุณี คงดี อัลเดรด สังกัด คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ นักวิจัยผู้เชี่ยวชาญทางด้านอุตสาหกรรมสิ่งทอ ได้ประดิษฐ์ผลงาน เรื่อง สิ่งทอสมบัติพิเศษด้วยไบโอฟิล์มจากไหมไฟโบรอิน โดยใช้กระบวนการเตรียมโปรตีนไฟโบรอินจากเศษไหมที่เป็นของเสียจากกระบวนการการผลิตที่ใช้ไหม ซึ่งเศษไหมที่ทิ้งนี้ยังมีโปรตีนไฟโบรอินจำนวนมาก จึงทำการคิดค้นหาสัดส่วนการผสมสำหรับการนำมาตกแต่งสิ่งทอ จนได้สัดส่วนและกระบวนการที่เหมาะสม สามารถใช้กับผ้าทอ ผ้าถัก และผ้าไม่ทอจากเส้นใยฝ้าย ซึ่งการตกแต่งดังกล่าวจะทำให้ผ้านั้นมีคุณสมบัติพิเศษ คือ ทนยับ ลดกลิ่นที่เกิดจากการสวมใส่ เส้นใยนิ่ม ไม่หยาบกระด้าง จึงทำให้ผู้ที่สวมใส่รู้สึกสบาย หลังจากนั้นได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โครงการสนับสนุนเพื่อเร่งการเติบโตของธุรกิจนวัตกรรมรายใหม่ในอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ (Research Gap Fund) ภายใต้โครงการพัฒนาธุรกิจนวัตกรรมเกิดใหม่ที่มีการเติบโตสูง (Innovative Startup) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 เพื่อพิสูจน์เทคโนโลยีจากห้องปฏิบัติการไปสู่ระดับอุตสาหกรรมร่วมกับบริษัท จุลณัฐ จำกัด โดยนำกระบวนการผลิตสิ่งทอด้วยไมโครแคปซูลกลิ่นหอมและต้านเชื้อแบคทีเรียด้วยสารสกัดธรรมชาติ ไปใช้กับสิ่งทอสำหรับเครื่องประดับตกแต่งของผู้ประกอบการโดยใช้เทคโนโลยีเอ็นแคปซูเลชัน เมื่อได้ผลเป็นที่พอใจ เพิ่มสารหอมและต่อต้านแบคทีเรียได้แล้วมีการถ่ายทอดเทคโนโลยีนี้ให้กับผู้ประกอบการ โดยนักวิจัยได้ช่วยผู้ประกอบการจัดตั้งห้องปฏิบัติการภายในพื้นที่ของผู้ประกอบการ และได้รับทุนสนับสนุนจากโครงการ Talent Mobility เพื่อสนับสนุนให้นักวิจัยและนักศึกษาช่วยแก้ปัญหาและเตรียมความพร้อมด้านบุคลากรวิจัยให้กับบริษัท ภายหลังจากนี้ผู้ประกอบการมีแผนเจรจาอนุญาตใช้สิทธิในผลงานวิจัย เรื่อง กระบวนการตกแต่งสิ่งทอด้วยสารประกอบเชิงซ้อนที่มีกลิ่นหอมและต้านเชื้อแบคทีเรีย จากมหาวิทยาลัยต่อไป
27 กันยายน 2562     |      606
IP Push
IP Push Thailand Tech Showงานประจำปีของ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จัดต่อเนื่องเป็นปีที่ 5 ภายใต้แนวคิดนวัตกรรม 360 องศา เพื่อความยั่งยืน (360 ํ Innovation X Sustainability)”และฝ่ายจัดการทรัพย์สินทางปัญญาและถ่ายทอดเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้ส่งผลงานเข้าร่วมงานในโซน Pitching ซึ่งได้นำเสนอผลงานวิจัยใน หัวข้อ นวัตกรรมการเพิ่มประสิทธิภาพอาหารเสริมจากสมุนไพรโดยเทคโนโลยีพลาสมา โดย อาจารย์ ดร. กีรติญา จันทร์ผง บุคลากรในสังกัด คณะวิทยาศาสตร์ เพื่อกลไกเชื่อมต่อการถ่ายทอดองค์ความรู้จากนักวิจัย และนักพัฒนาเทคโนโลยี ทั้งจากภาครัฐและเอกชนให้ไปเป็นนวัตกรรมเชิงพาณิชย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น สร้างประโยชน์ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อมให้ประเทศนำสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป โดยงานจัดขึ้นระหว่างวันที่ 5-6 กันยายน 2562 ณ ห้องคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ ชั้น 22 โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์และบางกอกคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ
26 กันยายน 2562     |      341
“Maejo Licensing and Pitching Day 2019”
วันที่ 24 กันยายน 2562 รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นประธานในพิธี พิธีลงนามอนุญาตให้ใช้สิทธิในผลงานวิจัยและนำเสนองานวิจัยเด่น “Maejo Licensing and Pitching Day 2019”ซึ่ง สถาบันบ่มเพาะวิสาหกิจ (UBI) มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดขึ้นภายใต้แนวคิดการนำนวัตกรรมไปใช้ในเชิงธุรกิจ โดยการเชื่อมโยงองค์ความรู้และภูมิปัญญาจากผลงานวิจัยชองมหาวิทยาลัยให้สามารถนำไปต่อยอดและขยายผลให้เกิดประโยชน์ได้อย่างเป็นรูปธรรมโดยผ่านช่องทางการอนุญาตให้ใช้สิทธิในผลงานวิจัย และเป็นการประกาศเกียรติคุณสำหรับนักวิจัยและ ผู้ประกอบการทุกท่านที่มีส่วนส่งเสริมสนับสนุนให้มีนำผลงานวิจัยสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมของมหาวิทยาลัย ไปสู่ภาคธุรกิจอย่างมีศักยภาพ โดยมีผลงานวิจัยที่เข้าร่วมลงนามอนุญาตใช้สิทธิในผลงานครั้งนี้มี จำนวน 8 ผลงาน ได้แก่ ชื่อผลงาน กระบวนการสกัดน้ำมันจระเข้ ผลงานโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ดวงพร อมรเลิศพิศาล คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ ร่วมกับ บริษัท บี.เอส.เอ็น ไลฟ์ จำกัด (คุณเมธัส เงินจันทร์) ชื่อผลงาน ผลิตภัณฑ์ปลาส้มสมุนไพรเสริม Probiotic และกรรมวิธีการผลิต ชื่อผู้ประดิษฐ์ รองศาสตราจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์ เม่งอำพัน คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ ร่วมกับ บริษัท ไลฟ์ฟาร์มแลนด์ จำกัด (คุณกรณ์ เม่งอำพัน) ชื่อผลงาน กระบวนการสกัดมะเขือม่วงและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและเครื่องสำอาง ชื่อผู้ประดิษฐ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ดวงพร อมรเลิศพิศาล คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ ร่วมกับ บริษัท ออล อะเบ๊าท์ เอ็กแทรก จำกัด (คุณทวีศักดิ์ อมรเลิศพิศาล) ชื่อผลงาน กระบวนการผลิตสารสกัดสาหร่ายน้ำจืดและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากสาหร่ายน้ำจืด ชื่อผู้ประดิษฐ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ดวงพร อมรเลิศพิศาล คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ ร่วมกับ บริษัท เอส.ที.ดี เมติกส์ จำกัด (คุณสิทธิกรณ์ อยู่แจ่ม) ชื่อผลงาน กรรมวิธีการผลิตเห็ดถังเช่าสีทอง ชื่อผู้ประดิษฐ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฐิติพรรณ ฉิมสุข คณะวิทยาศาสตร์ ร่วมกับ บริษัท เอสเอ็ม เทรดดิ้ง แอนด์ เซอร์วิส จำกัด (คุณยุทธนา นิลสกุล) ชื่อผลงาน สารเสริมในอาหารสัตว์น้ำในแคปซูลอัลจิเนตไคโตซาน (Alginate-Chitosan) และกรรมวิธีการผลิต ชื่อผู้ประดิษฐ์ รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐพร จันทร์ฉาย มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ ร่วมกับ บริษัท ซีอาร์-วัน ไบโอพลัส จำกัด (คุณจรูญ ส่างส่วยยี่) ชื่อผลงาน การปลูกพืชในบรรจุภัณฑ์ ชื่อผู้ประดิษฐ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สิริวัฒน์ สาครวาสี และนายทิวา จามะรี คณะผลิตกรรมการเกษตร ร่วมกับ บริษัท ทิวา อินโนเวท จำกัด (คุณทิวา จามะรี) ชื่อผลงาน ห้องรมก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์กับผลลำไยสด และกระบวนการที่เกี่ยวข้อง ชื่อผู้ประดิษฐ์ รองศาสตราจารย์จักรพงษ์ พิมพ์พิมล คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร ร่วมกับ ห้างหุ้นส่วนจำกัด เจริญจักรกล (คุณชาญณรงค์ ชูชนะ) นอกจากนี้ยังมีการนำเสนอผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัยที่มีความโดดเด่น มีศักยภาพและความพร้อมที่จะพัฒนาไปสู่การสร้างธุรกิจนวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของภาคอุตสาหกรรม อีกจำนวน 5 ผลงาน ซึ่งมีนักวิจัย บริษัทเอกชน และคณะสื่อมวลชน สนใจเข้าร่วมงานเป็นจำนวนมาก ณ อาคารพัฒนาวิสัยทัศน์ ชั้น 2 มหาวิทยาลัยแม่โจ้
30 กันยายน 2562     |      392
THAILAND TECH SHOW 2019 งานวิจัยเพื่อเอกชน-นักลงทุน
THAILAND TECH SHOW 2019งานวิจัยเพื่อเอกชน-นักลงทุนเมื่อวันที่ 56 กันยายน 2562 ฝ่ายจัดการทรัพย์สินทางปัญญาและถ่ายทอดเทคโนโลยี ได้นำผลงานวิจัยที่ได้รับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา เข้าร่วมแสดงผลงานในงาน Thailand Tech Show 2019 ณ เซ็นทาราแกรนด์ฯ เซ็นทรัลเวิลด์ โดยมี ดร.อัจฉรา วงศ์แสงจันทร์ รองปลัดกระทรวง อว. เป็นประธานเปิดงาน และมอบกิตติกรรมประกาศความสำเร็จในการถ่ายทอดเทคโนโลยี พร้อมอัปเดต 10 เทคโนโลยีที่น่าจับตามองประจำปี 2562 โดย ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อำนวยการ สวทช. และร่วมโหวตผลงานที่น่าลงทุนและนำเสนอดีที่สุดกับกิจกรรม NSTDA Investors' Day 2019 ในรูปแบบพิชชิ่งจาก 11 ผลงานเด่นประจำปี รวมถึงเสวนาและบรรยายพิเศษในหลายหัวข้อเพื่อเสริมความรู้ทั้งในด้านนวัตกรรมสุขภาพ อาหาร และพลังงาน โดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิจากภาครัฐและอุตสาหกรรม และโอกาสเข้าถึงบริการทางการเงินเพื่อนวัตกรรมของ สวทช. ตลอดจนเวทีพิชชิ่งประจำปี (Technology Pitching) ที่จะนำเสนอเทคโนโลยีแก่ผู้สนใจลงทุนในธุรกิจเทคโนโลยี พร้อมจัดเต็ม! ตลอดงานทั้ง 2 วัน พบกับบูธแสดงผลงานเทคโนโลยี สวทช. และหน่วยงานพันธมิตร กว่า 240 ผลงานจากกว่า 40 หน่วยงาน ครอบคลุมในหลายเทคโนโลยี ทั้งการแพทย์ เกษตร/ประมง เครื่องประดับ เครื่องมือ/เครื่องจักร เวชสำอาง/เวชภัณฑ์ อาหาร/เครื่องดื่ม อิเล็กทรอนิกส์ และสื่อการเรียน          ซึ่งมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้ส่งผลงานที่ได้รับการคุ้มครองด้านทรัพย์สินทางปัญญา เข้าร่วมในโซน Tech Show จำนวน 6 ผลงาน ได้แก่ 1. นวัตกรรมการเพิ่มประสิทธิภาพอาหารเสริมจากสมุนไพรโดยเทคโนโลยีพลาสมา 2. ครีมบำรุงผิวหน้าที่มีส่วนผสมจากสารสกัดอะโวกาโด 3. ผลิตภัณฑ์ดับกลิ่นปากสมุนไพร และกระบวนการผลิตสิ่งนั้น 4. ผลิตภัณฑ์สบู่สมุนไพร และกรรมวิธีการผลิต 5. กรรมวิธีการผลิตส่วนผสมล่วงหน้าสำหรับผลิตอาหารสัตว์จากหญ้าและโพรไบโอติกส์ 6. กรรมวิธีการสกัดและการเพิ่มความบริสุทธิ์ของสาร เอล-ควาบราซิทอล (Lquebrachitol) จากซีรั่มน้ำยางพารา และผลผลิตจากโครง Research Gap Fund เข้าร่วมโซน Research Gap Fund จำนวน 1 ผลงาน ได้แก่ ผลิตภัณฑ์นวัตกรรมอาหาร เวชสำอาง และสารประกอบเชิงหน้าที่จากสาหร่ายน้ำจืด ของบริษัท เอส.ที.ดี เมติกส์ จำกัด และการนำเสนอผลงานวิจัยในรูปแบบพิชชิ่ง หัวข้อ นวัตกรรมการเพิ่มประสิทธิภาพอาหารเสริมจากสมุนไพรโดยเทคโนโลยีพลาสมา โดย อาจารย์ ดร. กีรติญา จันทร์ผง บุคลากรในสังกัด คณะวิทยาศาสตร์ เพื่อกลไกเชื่อมต่อการถ่ายทอดองค์ความรู้จากนักวิจัย และนักพัฒนาเทคโนโลยี ทั้งจากภาครัฐและเอกชนให้ไปเป็นนวัตกรรมเชิงพาณิชย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น สร้างประโยชน์ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อมให้ประเทศนำสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป
16 กันยายน 2562     |      419
ทั้งหมด 4 หน้า