อุทยานวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเกษตรและอาหาร | Maejo Agro Food Park (MAP)
ชั้น 4 อาคารอำนวยยศสุข มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เลขที่ 63 หมู่ที่ 4 ต.หนองหาร อ.สันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290 ติดต่อเบอร์โทรศัพท์ 0 5387 5635, โทรสาร 0 5387 5637, มือถือ 081 883 2696

ขอเชิญภาคเอกชน/ภาคอุตสาหกรรม และผู้เชี่ยวชาญด้าน
technology/innovation management
เข้าร่วมโครงการ การพัฒนากระบวนการวิจัยของผู้ประกอบการ
Industrial Research and Development Capacity Building

IRD Cap Building เป็นการยกระดับการวิจัยและพัฒนาของภาคอุตสาหกรรม
ผ่านการสนับสนุนด้านองค์ความรู้ ประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญด้านกระบวนการวิจัย
ของมหาวิทยาลัยและอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค

.

เงื่อนไข :
- ผู้ประกอบการ
1. ผู้ประกอบการจะต้องมีศักยภาพและความพร้อมในการ เข้าร่วมการ coaching ตามเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ที่กำหนด 
2. ผู้ประกอบการจะต้องมีศักยภาพและความพร้อมในการจัดทำ R&D Blueprint เพื่อจัดตั้งหรือปรับปรุงพัฒนาหน่วยวิจัย (R&D Unit) ภายใน 5 ปี


- ผู้เชี่ยวชาญด้าน technology/innovation management
1. ผู้เชี่ยวชาญจะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดตั้งหน่วยวิจัย (R&D unit)
2. ผู้เชียวชาญจะต้องมีความพร้อมและสามารถเข้าร่วมกิจกรรมการฝึกอบรม “Train the Trainer” ตามเงื่อนไชและหลักเกณฑ์ที่กำหนด

.

.
สอบถามเพิ่มเติม : ฝ่ายพัฒนาความร่วมมือภาคเอกชน
(อุทยานวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเกษตรและอาหาร มหาวิทยาลัยแม่โจ้)
โทร. 0 5387 5635 / 08 1883 2696

ปรับปรุงข้อมูล : 10/9/2563 10:05:26     ที่มา : อุทยานวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเกษตรและอาหาร | Maejo Agro Food Park (MAP)     จำนวนผู้เปิดอ่าน : 1023

กลุ่มข่าวสาร :

ข่าวล่าสุด

MAEJO IP AWARDS 2021
เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2564 อุทยานวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเกษตรและอาหาร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้ดำเนินการจัดกิจกรรม"พิธีมอบรางวัลด้านทรัพย์สินทางปัญญาดีเด่น ประจำปี 2564 (MAEJO IP AWARDS 2021)"ณ ห้องประชุมสภามหาวิทยาลัย สำนักงานมหาวิทยาลัยแม่โจ้เพื่อยกย่องและเชิดชู หน่วยงานและบุคลากร ที่มีผลงานการขอรับความคุ้มครองด้านทรัพย์สินทางปัญญาตลอดจนการอนุญาตใช้สิทธิในผลงานทรัพย์สินทางปัญญาแก่ภาคอุตสาหกรรมโดยผลงานทรัพย์สินทางปัญญาดังกล่าวเป็นสิทธิของมหาวิทยาลัยแม่โจ้และผ่านการดำเนินงานของอุทยาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเกษตรและอาหาร จำนวน 5 รางวัล ได้แก่1. รางวัลนักวิจัยที่มีจำนวนการยื่นขอรับความคุ้มครองสิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร สูงสุด : รศ.ดร.นิวุฒิ หวังชัย และ รศ.ทิพสุคนธ์ พิมพ์พิมล คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ2. รางวัลนักวิจัยที่มีจำนวนการยื่นขอจดแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์สูงสุด : ผศ.ดร.นลิน วงศ์ขัตติยะ คณะวิทยาศาสตร์3. รางวัลหน่วยงานที่มีจำนวนการยื่นขอรับความคุ้มครองสิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร สูงสุด :คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร (โดยคณบดี เป็นตัวแทนรับมอบ)4. รางวัลหน่วยงานที่มีจำนวนการยื่นขอจดแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์สูงสุด :คณะเศรษฐศาสตร์ (โดยคณบดี เป็นตัวแทนรับมอบ)5. รางวัลหน่วยงานที่มีจำนวนผลงานทรัพย์สินทางปัญญา ได้รับอนุญาตใช้สิทธิสูงสุด :คณะวิทยาศาสตร์ (โดยคณบดี เป็นตัวแทนรับมอบ) #MJU#MAP#IP#INTELLECTUALPROPERTY#TLOMJU
11 ตุลาคม 2564     |      1065